กาแลและหำยนต์

บทความ

กาแลและหำยนต์

19 กุมภาพันธ์ 2018, 13:31:05 by THAILAND TOURS

?กาแลและหำยนต์? จิตวิญญาณที่ถูกจองจำ เมื่อเราพูดถึง กาแล หรือ แก๋แหล่ ทุกคนต้องเข้าใจว่าเป็นเครื่องประดับยอดนิยม และเป็นที่ชื่นชอบของผู้ที่ปลูกบ้านทรงไทยภาคเหนือ

รายละเอียด

“กาแลและหำยนต์” จิตวิญญาณที่ถูกจองจำ
เมื่อเราพูดถึง กาแล หรือ แก๋แหล่ ทุกคนต้องเข้าใจว่าเป็นเครื่องประดับยอดนิยม และเป็นที่ชื่นชอบของผู้ที่ปลูกบ้านทรงไทยภาคเหนือ บ้านทรงล้านนาหรือทรงไทยภาคเหนือ จะมีไม้ไขว้ บนหลังคาทุกหลังและไม้ประดับไขว้นี้ ถูกนำไปตกแต่งสลักเสลา ด้วยลวดลายสวยงาม ส่วนหำยนต์จะเป็นแผ่นไม้สี่เหลี่ยมแกะสลักฉลุลาย ติดไว้บนประตูห้องในบ้านเป็นที่ภูมิใจของเจ้าของบ้านว่าภูมิฐาน สวยงามหนักหนา ที่จริงแล้วทั้ง “ กาแลกำหำยนต์ ไม่ใช่ของล้านนา ” เราย้อนรอยเท้าบนเส้นทางแห่งประวัติศาสตร์ ถ้าใครมีโอกาสได้ไปที่หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา ท่านต้องเปิดใจรับรู้ทางประวัติศาสตร์อ่านให้จบ ทบทวนแล้ว ในที่บางทีอาจจะต้องอึ้งกับสิ่งที่เรารับรู้มาตลอดชีวิต ว่า โอ้ว์...อึ้งกิมกี่ ...ว่าความเป็นจริงในนั้นมีคำอธิบายถึง ไม้สองชิ้น หมายถึง กาแลและหำยนต์ไว้ด้วย
เรื่องราวเกี่ยวกับหำยนต์และกาแลเอกลักษณ์หรือเครื่องหมายแห่งทาส
คนเมืองจะมีความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์เรื่องของ “หำยนต์หรือหำโยน” ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ ว่ามันเข้าไปเกี่ยวข้องกับวิถี การดำเนินชีวิตของคนล้านนาอย่างไรลักษณะของหำยนต์เป็นไม้กระดานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านบนเรียบ ด้านล่างฉลุเว้าเป็นรูปเสี้ยววงกลมสองรูปมาชนกัน ตรงกลางทำเป็นส่วนย้อยแหลมออกมาทางช่องประตู หำยนต์หรือหำโยนนี้ ทำเอาไว้เพื่อเป็นการข่ม ตามพิธีไสยศาสตร์ คำว่า หำ แปลว่า อัณฑะอาจจะเป็นได้ของสัตว์หรือคนเพศผู้ คำว่ายนต์นั้นคงจะหมายถึงศาสตร์อันลี้ลับแขนงหนึ่ง เพราะคนโบราณนั้น กระทำสิ่งไหนที่เป็นศาสตร์อันลึกลับแล้ว มักจะมีคำว่ายนต์ปะปนอยู่ด้วย เช่นคำว่ายนต์ฟัน ยนต์ฟ้าผ่า ยนต์น้ำท่วมและยนต์คัน ซึ่งคนโบราณจะทำเอาไว้ในสถานที่ต้องห้าม เช่นอุโมงค์เก็บสมบัติ ในกรุฝังสมบัติของเจ้าพระยามหากษัตริย์ในสมัยก่อน ๆ เล่ากันว่า เมื่อมีผู้บุกรุกเข้าไปในที่ซ่อนสมบัติแล้ว ยนต์ต่าง ๆ นั้นก็จะทำงานทันที ยนต์ฟันก็จะฟันจนร่างของคนที่บุกรุกขาดเป็นสองท่อน ยนต์ฟ้าผ่าก็จะทำให้เกิดฟ้าผ่า ยนต์น้ำท่วมก็จะทำให้เกิดน้ำท่วมขึ้นมา ยนต์คันก็จะทำให้ผู้บุกรุกเข้าไป มีอาการคันคะเยอไปทั่วร่างกาย และเกาจนขาดใจก็มี สำหรับหำยนต์หรือหำโยนนั้นเล่ากันมาว่า เมื่อครั้งที่นครเชียงใหม่ได้สูญเสียเอกราชให้กับพม่าแล้ว พม่ามีความเกรงกลัวว่า ในนครเชียงใหม่จะมีผู้มีอำนาจบุญญาธิการมาจุติกอบกู้เอกราช จึงบังคับให้ชาวเชียงใหม่ทุกครอบครัวสร้างบ้านให้มีลักษณะข่มตนเอง หรือข่มอาถรรพณ์ต่าง ๆ ที่จะเป็นภัยต่อพวกพม่าให้หมดสิ้นลงไปจึงบังคับให้บ้านแต่ละหลังนั้นต้องสร้างให้มี “กาแล” อันแปลว่า อีกาชำเลือง บางแห่งเรียก “แก๋แล” แปลว่า นกพิราบชำเรือง กาแลนั้นต้องให้หน้าจั่วบ้านนั้น ยื่นไม้ให้พ้นจากหลังคาออกไปเป็นรูปตัว v ซึ่งการไขว้ไม้ลักษณะนี้ จะพบเห็นในการปักไขว้กันบนหลุมฝังศพเด็กที่ตายลงไปอายุยังไม่ถึงสามขวบนัยว่าเป็นการปักไม้เพื่อสะกดวิญญาณ นอกจากนี้ไม่ว่าทารกแรกเกิดจะถือกำเนิดออกมาที่ไหนในนครเชียงใหม่แล้ว จะต้องบังคับให้ฝังรกที่ใต้บันไดทางขึ้นบ้านเพื่อข่มบุญบารมีให้หมดสิ้นไป ไม่ให้มีโอกาสมาซ่องสุมกำลังผู้คนกอบกู้เอกราชเพราะใต้บันไดนั้นเป็นที่ข้ามเหยียบของผู้คนทั้งคนผู้หญิงและชาย หำยนต์หรือหำโยนนี้ ก็เช่นกัน ก็คงมีไว้สำหรับข่มชาวเชียงใหม่ไม่ให้มีโอกาสดิ้นรนต่อสู้กับพวกพม่าต่อไป การข่มโดยเอาของต่ำไปไว้บนที่สูงให้ผู้คนชาวเชียงใหม่ได้ลอดผ่านไปมานั้น ก็เท่ากับกดให้เป็นเบี้ยล่างตลอดไป
คนรุ่นต่อ ๆ มาไม่ทราบถึงเหตุผลในข้อนี้ ก็คิดว่าเป็นของดี เป็นเอกลักษณ์ของชาวเชียงใหม่ ก็พากันสร้างสิ่งเหล่านี้มาประดับบ้าน โดยหารู้ไม่ว่าสิ่งเหล่านี้ก็คือเครื่องหมายของความเป็นทาสของชนชาติต่างเผ่าพันธุ์ที่เข้ามากดขี่ข่มเหงเรามาก่อนนั่นเอง
(หนังสือคำคมแห่งล้านนา( กำบะเก่า ) อำนวย กล่ำพัด รวบรวม เอื้องผึ้ง ระมิงค์พันธ์ เรียบเรียง : 2530)
หำยนต์ (อ่านว่า หำ - ยน )
หำยนต์คือแผ่นไม้แกะสลักที่อยู่ในกรอบเหนือประตูห้องนอนในเรือนกาแลของชาวล้านนา มีรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าและมีลวดลายที่สวยงาม เช่น ลายดอกไม้ ลายเครือเถา ก้านขด ลายเมฆ ลายน้ำ ลายประแจจีน หรือลายเรขาคณิตอย่างง่าย ชาวล้านนาเชื่อว่าหำยนต์มีพลังลึกลับที่สามารถดลบันดาลความเป็นไปแก่เจ้าของบ้าน มีการทำหำยนต์ขึ้นในเวลาสร้างเรือนใหม่ โดยนำแผ่นไม้มาผูกไว้กับเสามงคล (เสาเอก) เพื่อทำพิธีสูตรถอน และอัญเชิญอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาสถิตที่หำยนต์ จากนั้นแกะสลักแล้วทำการติดตั้งโดยมีพิธียกขันตั้งหลวง ประกอบด้วย ดอกไม้ ธูปเทียน หมากพลู ผ้าขาว ผ้าแดงและสุราอาหาร มีปราชญ์ประจำหมู่บ้านทำหน้าที่กล่าวอัญเชิญเทวดา อารักษ์ ผีบ้านผีเรือนมาปกป้องรักษาบ้านหลังนั้นให้อยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขอุดมสมบูรณ์การกำหนดขนาดของหำยนต์ ใช้วิธีวัดขนาดจากความยาวของเท้าเจ้าของบ้าน ถ้าเป็นประตูขนาดเล็กจะใช้ขนาดสามเท่าของเท้าประตูขนาดใหญ่จะวัดให้ได้ขนาดสี่เท่าของเท้าเจ้าของบ้าน โดยถือว่าการทำหำยนต์เป็นการข่มผู้ที่จะเดินลอดผ่านข้างใต้ด้วย เชื่อกันว่าหำยนต์เป็นสิ่งที่สามารถคุ้มครองป้องกันสิ่งไม่ดีที่จะเข้ามากล้ำกลายเจ้าของเรือนและครอบครัวได้ในด้านการใช้งานหำยนต์อยู่เหนือข่มประตูห้องนอนแบ่งพื้นที่ห้องนอนกับพื้นที่เติ๋น ( ชานร่มรับแขกบนเรือน ) เป็นการแบ่งพื้นที่ที่เป็นส่วนตัวของครอบครัวซึ่งนับถือผีตระกูลเดียวกันออกจากผู้มาเยือน และเป็นสัญลักษณ์แสดงความเป็นตัวตนของเจ้าของเรือนที่ผู้อื่นไม่ควรกล้ำกลายเข้าไปโดยพละการ การถลำก้าวล้ำเข้าไปถือเป็นการผิดผี จะต้องทำพิธีขอสูมาลาโทษ ทัศนะของนักวิชาการและปราชญ์ท้องถิ่นเกี่ยวกับหำยนต์มีมากหลาย เช่น เป็นยันตร์ที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันภัยอันตราย บ้างว่าอาจมีที่มาจากรูปแบบทับหลังซุ้มประตูในสถาปัตยกรรมเขมรที่ได้รับอิทธิพล มาจากชวาอีกต่อหนึ่ง แล้วแพร่หลายเข้าสู่ดินแดนล้านนา ภายหลังอาจารย์สงวน โชติสุขรัตน์ อธิบาย คำว่า "หำ" ว่าเป็นภาษาล้านนาหมายถึง "อัณฑะ" อันเป็นสิ่งที่รวมพลังของเพศชาย ส่วนคำว่า "ยน" คงมาจาก "ยนตร์" แปลว่าสิ่งป้องกันรักษาที่ศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นหำยนต์จึงเป็นส่วนตกแต่งเรือนและทำหน้าที่เป็นยันต์อันศักดิ์สิทธิ์ที่จะป้องกันอันตรายจากภายนอก อาจารย์ไกรศรี นิมมานเหมินทร์ สันนิษฐานว่า เมื่อครั้งที่สมัยพม่าเข้าปกครองล้านนา ได้บังคับให้คนเมืองอยู่อาศัยในบ้านที่มีรูปร่างคล้ายโลงศพของพม่า และหำยนต์เปรียบเป็นอัณฑะของพม่า เมื่อเจ้าของบ้านชาวล้านนาและคนในครอบครัวเดินเข้าออกห้องและลอดใต้อัณฑะนั้นก็จะถูกข่มและทำลายจิตใจไม่ให้คิดกระด้างกระเดื่องต่อพม่า ส่วนอาจารย์เฉลียว ปิยะชน อธิบายว่าเมื่อชาวล้านนาจะขายบ้านหรือซื้อบ้านต่อจากเจ้าของบ้านคนเก่า จะทำพิธีด้วยการตีหำยนต์แรงๆ หรืออาจทำลาย เพื่อขจัดความขลัง ถือเป็นการทำให้หมดความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นความเห็นที่ตรงกันกับอาจารย์ ไกรศรี นิมมานเหมินทร์ ส่วนอาจารย์มณี พยอมยงค์ เห็นว่า หำยนต์ อาจมาจากคำว่า ยันตะ แปลว่า ยันต์ของพระอรหันต์ โดยในลวดลาย ที่แกะสลักบนแผ่นหำยนต์นั้น น่าจะมีคาถาติดอยู่ อาจารย์อุดม รุ่งเรืองศรี สันนิษฐานว่า หำยนต์ น่าจะเรียกว่า หัมยนต์ มากกว่า มาจากคำว่า หัมมิยะอันตะ คำว่า "หัมมิยะ" แปลว่า ปราสาทโล้น หมายถึงเพิงบังแดดชั่วคราว คำว่า "อันตะ" แปลว่า ยอด รวมแล้วแปลความว่า ปราสาทที่ไม่มียอด และท่านเห็นว่าเป็นการทำเพื่อตกแต่งเรือนไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องคาถาอาคมที่มาของชื่อและความหมายนั้นนับว่ามีข้อคิดเห็นที่หลากหลายนัก สมัยที่ตนเป็นเด็กมีเรือนกาแลให้เห็นมากมายหลายหมู่บ้านในแถบพื้นที่นั้น ผู้เป็นเจ้าของเรือนจะเป็นหัวหน้าหมู่บ้านเท่านั้น ซึ่งตรงกับเจ้าของเรือนกาแลของ ชาวลัวะ ในไทย ที่ต้องเป็นหัวหน้าหมู่บ้าน ที่เรียกว่า “ขุนสะมาง” และเมื่อเปรียบเทียบกับเรือนชาวลัวะในเมืองลา ใกล้ชายแดนตะวันออกของเมืองเชียงตุงที่ผู้เขียนมีโอกาสไปสำรวจเมื่อปีที่แล้วพบว่าเรือนชาวลัวะที่นั่นเหมือนกับเรือนชาวลัวะที่อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน และอำเภอแม่แจ่มจังหวัดเชียงใหม่ ต่างกันตรงที่เรือนลัวะ ที่เมืองลาหลายหลังมีขนาดใหญ่กว่ามาก และไม่ค่อยเห็นการตกแต่งกาแลที่แกะสลักบนยอดจั่ว ส่วนหำยนต์พบว่ามีใช้เหมือนกันแต่ฝีมือการแกะสลักไม่งามเท่าอย่างไรก็ดี เมื่อตรวจสอบกับข้อเท็จจริงในหลักฐานการดำรงชีวิตของชาวล้านนารวมทั้งชาวลัวะ ชนเผ่าที่มีเรือนกาแลคล้ายกัน พอสรุปได้ว่า ชาวล้านนาแถบเชียงใหม่และชาวลัวะทางทิศใต้และตะวันตกของเชียงใหม่รวมทั้งในเขตพม่า ทำหำยนต์ขึ้นเป็นส่วนประกอบตกแต่งที่โดดเด่นพิเศษ แสดงความเป็นเอกลักษณ์ของเจ้าของเรือนและตระกูล โดยใช้กำหนดเขตทางเข้าพื้นที่หวงห้ามส่วนตัว และเกี่ยวพันกับความเชื่อเรื่องพลังอำนาจเร้นลับที่ปกป้องสิ่งชั่วร้ายและไม่ให้เข้ามาในพื้นที่เฉพาะ ดลบันดาลความเป็นศิริมงคลรุ่งเรืองแก่เจ้าของเรือนและคนในเรือนหรือพูดอีกนัยหนึ่ง คือ (ใครเข้าประตูมาต้องลอดหว่างขากูเข้ามาละ ) หรือข่มไว้แล้ว คนที่มีครูจะไม่ล่วงล้ำเข้าไปในเขตเฉพาะที่หวงไว้ มีใครมานั่งคุยกันเจ้าบ้านก็จะนั่งบนข่ม ให้แขกนั่งข้างล่าง หรือเติ๋น ถ้าจะไปซื้อบ้านเก่าคนอื่นก่อนรื้อไปหรือเข้าอยู่ต้อง ทำพิธี “ บุบหำก่อน ” หมายถึงตีหำยนต์ของเจ้าบ้านเก่าให้แตกก่อน จึงจะเข้าไปดำเนินการใดๆ
-------------------------------------------
ขอบคุณ
สุพิชัย สร้อยนาค
๒๕ มี.ค. ๒๕๕๙

?หมวกสานล้านนา? นับวันยิ่งลืมเลือน... ในสมัยโบราณการทำหมวกสานล้านนานั้นนิยมทำกันหลายแบบส่วนที่ใช้กันอย่างแพร่หลายได้แก่ หมวกสานจากใบลาน หรือที่คนรู้จักในชื่อ ?หมวกสามล้อ?

ตำนานกล่าวว่า.ครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จมาที่นี่พร้อมพระสาวก.เมื่อมาถึงจอมสัก.มีพญานาคสองพี่น้องนำภัตตาหารมาถวายแด่พระพุทธเจ้า.พระองค์ทรงมอบพระเกศาให้รักษาไว้

พระยารัตนาณาเขตร์ (น้อยเมืองไชย) (ในสัญญาบัตรแต่งตั้งว่า พระยารัตนาณาเฃตร) หรือเจ้าหลวงเมืองไชย เป็นบุตรของพระยาราชเดชดำรง (อินต๊ะ) เจ้าเมืองเชียงแสน ถูกตั้งเป็นเจ้าหลวงเมืองเชียงราย แทนสายเมืองเชียงใหม่

เจ้าฉ่วยไต้ก์ มีชายา 5 องค์ แต่แต่งตั้งเป็นมหาเทวีแค่ 2

เจ้าเสือข่านฟ้า นักรบเก่งกาจ ยกทัพไปถึงไหนก็ชนะเขาไปหมด คราวนี้จะไปตีเมืองใดให้ราบคาบ...

สิบสองปันนาดำรงความมั่นคงเฟื่องฟู

THAILAND TOURS

เกี่ยวกับเรา THAILAND TOURS

บริการให้คำปรึกษาการเดินทางจากทั่วประเทศครับ...
จุดนัดพบของคณะท่องเที่ยวเริ่มต้นรวมตัวภายในร้านอาหารหน้าด่านตรวจคนเข้าเมือง อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย (ร้านรสเด็ด)

สมัครรับข่าวสาร